ข้าวอินทรีย์ ข้าวคุณภาพดีจากชาวนาสุรินทร์

FAIRTRADE การค้าที่เป็นธรรม

แฟร์เทรด คือ การค้าอย่างเป็นธรรม (Fairtrade) เป็นการเคลื่อนไหวที่เน้นความยุติธรรมและ มนุษยธรรม ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าเป็นบริบทสำคัญ เพื่อสนับสนุนมาตรฐานสากลในเรื่องแรงงาน สิ่งแวดล้อม และสังคม สำหรับสินค้าและบริการ โดยเฉพาะที่มาจากประเทศกำลังพัฒนาไปยังประเทศที่พัฒนาแล้ว (Developed Countries) การดำเนินการเป็นแบบสมัครใจ แต่อยู่ภายใต้ การบังคับขององค์กรระหว่างประเทศที่ดูแลด้านการค้าอย่างเป็นธรรม สินค้าที่สามารถได้รับตราสัญลักษณ์ FAIRTRADE มีหลากหลาย เช่น สินค้าเกษตร ได้แก่ ผลไม้ เครื่องเทศ ต่างๆ ดอกไม้ ข้าว น้ำผึ้ง เครื่องดื่ม น้ำตาล ไปจนถึงสินค้าจากผ้าฝ้าย และเฟอร์นิเจอร์ไม้

มาตรฐาน FAIRTRADE ตราสัญลักษณ์ FAIRTRADE คิดค้นขึ้นโดยองค์กรอิสระ FAIRTRADE International ใช้เป็นตรารับรองคุณภาพสินค้าตามมาตรฐาน FAIRTRADE ที่องค์กรกำหนด ซึ่งแบ่งได้เป็นหลักๆ 3 ด้านได้แก่ 1. มาตรฐานเรื่องสิ่งแวดล้อม เช่น สินค้าจะต้องมาจากการผลิตที่ไม่ทำลายธรรมชาติ สินค้าที่ไม่มีส่วนผสมของ GMO 2. มาตรฐานเรื่องการค้า เช่น การรักษาราคาตลาด การซื้อขายกันในระยะยาวระหว่างผู้ผลิตและผู้จำหน่ายสินค้า การกำหนดให้พ่อค้าคนกลางต้องช่วยเหลือเกษตรกรเรื่องการเงินก่อนฤดูเก็บเกี่ยว 3. มาตรฐานเรื่องสังคม เช่น การจ้างงานที่เป็นธรรม การห้ามการใช้แรงงานเด็ก การร่วมมือในโครงการเพื่อสังคมต่างๆ

แฟร์เทรดและคุณ

คุณคือหัวใจสำคัญในระบบแฟร์เทรด งานของแฟร์เทรด คือ พยายามสร้างระบบการค้าที่เป็นธรรมให้แก่เกษตรกรและผู้ใช้แรงงานเช่นคุณ แฟร์เทรดช่วยให้คุณมีโอกาสพัฒนาธุรกิจเพื่อทำให้อนาคตของคุณและชุมชนดีขึ้น

สินค้าที่มีโลโก้แฟร์เทรดของคุณ ผู้บริโภคจากทั่วโลกเลือกสินค้าที่มีโลโก้แฟร์เทรด เพราะพวกเขารู้ว่าผู้ผลิตเช่นคุณ จะได้รับการดูแล และเงินอย่างเป็นธรรม

ประโยชน์ที่คุณจะได้รับ

1. ราคาขั้นต่ำที่แฟร์เทรดตั้งให้เป็นราคาที่เป็นธรรมและคงตัวสำหรับสินค้าของคุณ

2. เงินแฟร์เทรดพรีเมี่ยมเพื่อให้คุณสำหรับพัฒนาสังคมหรือขยายธุรกิจ

3. มีเสียงในการตัดสินใจรวมถึงการตัดสินใจในการใช้เงินแฟร์เทรดพรีเมี่ยม

4. การทำงานและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นสำหรับคนงาน

5. สร้างโอกาสใหม่ๆ ให้สินค้าของคุณ

6. การให้กู้เงินล่วงหน้า เป็นการให้องค์กรของคุณได้รับเงินก่อนการเก็บเกี่ยว

การเข้าร่วมกับแฟร์เทรด การเข้าร่วมกับแฟร์เทรดทำได้โดยองค์กรของคุณ จะต้องผ่านมาตรฐานหลักของแฟร์เทรดและจะต้องมีการพัฒนาตัวเองขึ้นด้วย มาตรฐานที่แฟร์เทรดใช้นั้นจะเกี่ยวกับ สังคม, สิ่งแวดล้อม, การพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้คุณได้รับประโยชน์สูงสุด โฟลเชิร์ต (FLO cert) จะเข้ามารับผิดชอบการตรวจกลุ่มของคุณเพื่อทำให้ทราบว่ากลุ่มของคุณได้ผ่านมาตรฐานแล้ว คุณและผู้ซื้อของคุณจะต้องผ่านการตรวจก่อนที่คุณจะสามารถขายสินค้าในนามแฟร์เทรดได้

สรุปมาตรฐานแฟร์เทรดอย่างย่อ

  • หากคุณเป็นเกษตรกรรายย่อย คุณจะต้องมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มหรือองค์กร เช่น สหกรณ์
  • หากคุณเป็นคนงานที่ทำงานให้ฟาร์มการเกษตรที่ต้องการเข้าร่วมกับแฟร์เทรด คุณจะต้องมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการองค์กรและคุณจะได้รับประโยชน์จากแฟร์เทรดด้วย
  • คุณไม่สามารถกีดกัน หรือแบ่งชั้นทางเชื้อชาติ, เพศ หรืออื่นๆ ได้
  • เกษตรกรหรือคนงานของคุณสามารถมีส่วนในการตัดสินใจเกี่ยวกับองค์กรของคุณ รวมถึงการใช้เงินแฟร์เทรดพรีเมียมด้วย
  • คุณจะได้รับความโปร่งใสและความซื่อสัตย์ในธุรกิจนี้
  • คุณต้องดูแลสิ่งแวดล้อม
  • องค์กรของคุณจะต้องปฏิบัติและให้ความเป็นธรรมกับแรงงานและต้องปฏิบัติตามกฎหมายสิทธิแรงงานนานาชาติ
  • คุณจะต้องดำเนินธุรกิจเพื่อให้สมาชิกและแรงงานได้รับประโยชน์

เราทำงานเพื่อช่วยเหลือคุณ องค์กรมาตรฐานการค้าที่เป็นธรรม (FLO) และ หน่วยสนับสนุนและประสานงานผู้ผลิต (PSR) ทีมงานของ PSR จะทำงานกับคุณเพื่อให้ผ่านมาตรฐานของโฟลเซิร์ต ผู้ประสานงานที่รับผิดชอบเขตนั้นจะคอยช่วยเหลือคุณ โดย FLO จะขอความเห็นของคุณเพื่อช่วยให้ระบบและมาตรฐานเหมาะสมกับเกษตรกร

แฟร์เทรดและ OASIS

ครือข่ายวิสาหกิจชุมชนนวัตกรรมเกษตรอินทรีย์จังหวัดสุรินทร์ (OASIS) เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มเกษตรกรรายย่อย เพื่อผลผลิตสินค้าเกษตรในระบบอินทรีย์และการค้าที่เป็นธรรม (Fairtrade)

พรีเมี่ยมแฟร์เทรด (Premium Fairtrade) เงินรางวัลที่ได้รับนอกเหนือจากราคาสินค้าตามที่ตกลงกันแล้ว จะช่วยให้ผู้ผลิตได้นำไปใช้ประโยชน์ในด้านการลงทุนด้านการศึกษา สุขภาพ การปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกในฟาร์มเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้

กองทุนพัฒนาพรีเมี่ยมแฟร์เทรดโอเอซิส กองทุนพัฒนาพรีเมี่ยมแฟร์เทรดเป็นกองทุนที่มาจากเงินส่วนต่างพรีเมี่ยมแฟร์เทรดจากลูกค้า เพื่อการพัฒนากลุ่มองค์กรและช่วยเหลือสังคม การจัดตั้งกองทุนพัฒนาพรีเมี่ยมแฟร์เทรด โดยมีแนวทางมุ่งเน้นการพัฒนาที่มีประโยชน์ต่อทุกคน สิ่งแวดล้อมและการบริหารทรัพยากรอย่างคุ้มค่า บนเงื่อนไขวัตถุประสงค์ 5 เรื่อง

1. เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้

2. ส่งเสริมและพัฒนาโครงสร้างการผลิต ปัจจัย และเครื่องมือ

3. เพื่อกองทุนสวัสดิการ

4. เพื่อการพัฒนาองค์กร

5. เพื่อเผยแพร่ความรู้เรื่องการค้าที่เป็นธรรม

กลุ่มเป้าหมาย องค์กร,สมาชิก,กลุ่มพื้นที่ในชุมชน,คนทำงาน,เด็กและเยาวชน,ผู้ด้อยโอกาสทางสังคมและผู้ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ

ขั้นตอนการใช้กองทุนพัฒนาพรีเมี่ยมแฟร์เทรด

ขั้นตอนที่ 1 สำรวจความต้องการของสมาชิก/กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่/คนทำงาน

ขั้นตอนที่ 2 จัดทำข้อเสนอแผนโครงการ / กิจกรรม 

ขั้นตอนที่ 3 ประเมินและพิจารณากลั่นกรองแผนโครงการ / กิจกรรม โดยคณะกรรมการกองทุนพรีเมี่ยมแฟร์เทรดและคณะกรรมการ OASIS

ขั้นตอนที่ 4 แจ้งผลการพิจารณาให้กับสมาชิก/กลุ่มเกษตรในพื้นที่/คนทำงาน

ขั้นตอนที่ 5 รวบรวมข้อเสนอแผนโครงการ/กิจกรรม ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองเตรียมเสนอในเวทีประชุมใหญ่

ขั้นตอนที่ 6 ที่ประชุมใหญ่พิจารณาอนุมัติแผนโครงการ/กิจกรรม

ขั้นตอนที่ 7 สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานตามแผนโครงการ/กิจกรรม

ขั้นตอนที่ 8 ปฏิบัติการตามแผนโครงการ/กิจกรรม

ขั้นตอนที่ 9 สรุปและรายงานผลการดำเนินแผนโครงการ/กิจกรรม ในที่ประชุมใหญ่ครั้งถัดไป